Frequently Asked Questions (FAQ)

ตอบ Journal Impact Factor (JIF) หรือ ดัชนีผลกระทบการอ้างอิงวารสาร หมายถึง จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความของวารสารนั้นจะได้รับการอ้างอิงในแต่ละปี (A measure of the frequency with which the ‘average article’ in a journal has been cited in a particular year or period) โดยผู้ที่คิดค้น JIF คือ Dr. Eugene Garfield และ Irving H Sher แห่งสถาบัน ISI (Institute for Scientific Information) หรือ Thomson Reuters แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงทศวรรษ 1960 เพื่อใช้ดัชนีนี้ในการคัดเลือกวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูลของสถาบัน ISI โดยข้อมูลการอ้างอิงนี้ ได้มาจากการอ้างอิงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 2 ปีของกลุ่มวารสารจำนวนหนึ่งที่ปรากฏในฐานข้อมูลของสถาบัน ISI จำนวน 3 ฐานข้อมูล คือ ฐานข้อมูล Science Citation Index (SCI), Social Science Citation Index (SSCI) และ Arts and Humanities Citation Index (A&HCI) โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้ สูตรการคำนวณค่า Journal Impact Factors ตามวิธีการของสถาบัน ISI ตัวอย่างการคำนวณ วารสาร A มีค่าดัชนีผลกระทบการอ้างอิงในปี 2550 เท่ากับ 0.666 ซึ่งมีวิธีการคำนวณ ดังนี้
ตอบ คือดัชนีในการประเมินคุณภาพผลงานตีพิมพ์ในวารสาร ซึ่งตั้งชื่อตามผู้คิดค้น คือ Professor Jorge E. Hirsch ซึ่งเป็นศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งซานดิอาโก้ h-index นี้ เป็นดัชนีที่เกิดจากการนำข้อจำกัดของ JIF มาประกอบการพิจารณาและนำเสนอดัชนีตัวใหม่ที่เชื่อว่ามีความเที่ยงตรงมากกว่า เพื่อใช้เป็นทางเลือกในการประเมินผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ความหมายของ h-index h-index คือค่าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการอ้างถึง (Citations) กับลำดับของบทความที่ถูกอ้างถึง (Article Rank Number) โดยจำนวนการอ้างถึง ต้องมากกว่า หรือเท่ากับ ลำดับของบทความที่ถูกอ้างถึง (A scientist has index h if h of his N papers have at least h citations each, and the other (N-h) papers have no more h citations each.) จากคำจำกัดความ จะเห็นว่า ค่า h-index ประกอบด้วยจำนวนการอ้างถึงบทความวารสาร (Citations) และจำนวนบทความที่มีการตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ (Number of Publications) ซึ่งข้อมูลทั้งสองประเภทนี้ มีปรากฏในฐานข้อมูลบางฐานข้อมูลเท่านั้น เช่น ISI Web of Science, Scopus, Google Scholar และ TCI ของประเทศไทย โดยค่า h-index ที่ฐานข้อมูลเหล่านี้ คำนวณให้นั้น จะไม่ตรงกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนวารสารที่มีอยู่ในฐานข้อมูล และจำนวนการอ้างอิงที่แต่ละบทความได้รับในช่วงเวลาที่กำหนดด้วย ตัวอย่างค่า h-index หากต้องการตรวจสอบว่า ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ มีค่า h-index เท่าใด สามารถตรวจสอบได้ โดยค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ISI Web of Science หรือ Scopus ในที่นี้จะใช้ฐานข้อมูล Scopus ซึ่งมีจำนวนวารสารมากกว่าฐานข้อมูลของ ISI หลังจากใส่ชื่อนามสกุลคือ Sombatsompop ในช่องคำค้นที่เป็น Author เคาะ enter และฐานข้อมูลได้แสดงผลจากการค้นแล้ว ให้คลิกที่ Citation tracker ซึ่งจะปรากฏตารางที่แสดงอันดับของบทความที่มีการอ้างอิงสูงสุด (Article rank number) และจำนวนการอ้างอิงของบทความนั้นๆ (Citations) ดังตารางข้างล่างนี้
จากตารางจะเห็นว่า บทความลำดับที่ 15 มีจำนวน Citations 16 ครั้ง ในขณะที่บทความลำดับที่ 16 มีจำนวน Citations 15 ครั้ง ดังนั้น ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2552 ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ มีค่า h-index เท่ากับ 15 เนื่องจาก เป็นตัวเลขที่บทความยังคงมีจำนวน Citations สูงกว่าลำดับที่ของบทความ
ตอบ ค่า g-index คือค่าดัชนีในการวัดคุณภาพผลงานวิจัยที่ให้ค่าน้ำหนักกับบทความที่มีการอ้างถึงสูงสุด คนที่นำเสนอ g-index คือ Leo Egghe ซึ่งนำเสนอในปี 2006 โดยใช้ข้อมูล 2 ชุด เช่นเดียวกับข้อมูลที่ใช้คำนวณค่า h-index คือ ค่าจำนวนครั้งในการอ้างถึง (Times cited : TC) กับค่าแสดงอันดับของบทความที่มีการอ้างอิงสูงสุด (Article rank number : R) วิธีการคำนวณ นำตัวเลข TC มาบวกกันอย่างต่อเนื่องเพื่อแสดงผลบวกสะสม ในคอลัมน์ที่ 3 ส่วนค่า R ให้นำมายกกำลังสองแล้วนำเสนอค่าในคอลัมน์ที่ 4 หลังจากนั้นให้นำข้อมูล 4 ชุดมาเปรียบเทียบกัน โดยให้พิจารณาหาค่าผลรวมของ TC ตัวสุดท้าย ที่มีค่ามากกว่า ค่า R2 และ ตัวเลขในคอลัมน์ R ที่อยู่แถวเดียวกับตัวเลขสุดท้ายที่ผลรวมของ TC มีค่ามากกว่า ค่า R2 คือค่า g-index
ตอบ

ฐานข้อมูล TCI ได้รับการสนับสนุนจาก สกว. และ สกอ. เพื่อการรวบรวมข้อมูลการตีพิมพ์บทความ และข้อมูลการอ้างอิงบทความของวารสารวิชาการไทย เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่และพัฒนาวารสารไทยให้มีมาตรฐานในระดับนานาชาติ ดังนั้นวารสารวิชาการไทยที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI จึงเป็นวารสารที่ผ่านเกณฑ์การประเมินวารสารที่กำหนดโดยศูนย์ TCI เท่านั้น ไม่ใช่วารสารระดับชาติที่ได้รับการยอมรับจาก สกอ. หรือ สกว. เพื่อประโยชน์ในการได้รับทุนสนับสนุน หรือเพื่อการตีพิมพ์บทความเพื่อสำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการตีพิมพ์ และข้อมูลการอ้างอิงของวารสารที่มีอยู่ในฐานข้อมูลของ TCI ได้ถูกนำไปใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อจัดสรรทุนอุดหนุนการดำเนินงานวารสาร รวมทั้งใช้ประกอบการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพวารสารอย่างต่อเนื่อง

ตอบ วารสารวิชาการทุกรายการที่ผลิตในประเทศไทย สามารถนำมาจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล TCI หากมีลักษณะตรงตามเกณฑ์การคัดเลือกวารสารที่ได้กำหนดไว้  ซึ่งศูนย์ TCI เปิดรับเอกสารสำหรับวารสารที่ต้องการเข้าสู่ฐานข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี โดยมีขั้นตอนการนำวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI ดังนี้ ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง :
ตอบสถาบัน ISI ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Thomson Reuters ได้กำหนดเกณฑ์คุณภาพของวารสารวิชาการในการคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูลของสถาบัน 4 เกณฑ์ ดังนี้
1. มาตรฐานทั่วไปของวารสาร (Basic journal standard) ซึ่งประกอบด้วย
   1.1 ความตรงต่อเวลาของวารสาร (Timeliness of Publication)
   1.2 วารสารปฎิบัติตามข้อกำหนดของบรรณาธิการนานาชาติ (International editorial conventions) คือ ชื่อวารสารต้องมีความชัดเจน ชื่อบทความให้รายละเอียดอย่างพอเพียง รวมทั้งมีสาระสังเขป มีรายการอ้างอิงที่สมบูรณ์ ถูกต้อง ครบถ้วน และมีสถานที่ติดต่อผู้เขียนทุกคนอย่างสมบูรณ์
   1.3 วารสารมีชื่อบทความ บทคัดย่อ คำสำคัญ และรายการอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่าบทความจะเขียนเป็นภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ
   1.4 วารสารมีกระบวนการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review process)
2. ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการของสถาบัน ISI (Editorial Content)
3. ความเป็นสากลของวารสาร (International Diversity) ประกอบด้วย
   3.1 ความหลากหลายของผู้ที่ส่งบทความมาตีพิมพ์
   3.2 ความหลากหลายของการถูกนำไปอ้างถึง (Cited articles)
4. การวิเคราะห์การอ้างถึง (Citation Analysis) ใช้ข้อมูลการอ้างถึง 4 ประเภท คือ
   4.1 อัตราการอ้างถึงในภาพรวม (Overall citation rate)
   4.2 ค่าดัชนีผลกระทบการอ้างอิง (Impact Factor)
   4.3 ค่าความเร็วในการอ้างถึง (Immediacy Index)
   4.4 อัตราการอ้างอิงตัวเองของวารสาร
ที่มา : THE THOMSON REUTERS JOURNAL SELECTION PROCESS
ตอบ

สถาบัน SCOPUS ได้กำหนดเกณฑ์คุณภาพของวารสารวิชาการในการคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูลของสถาบัน 5 เกณฑ์ ดังนี้
1. นโยบายวารสาร (Journal policy) ซึ่งประกอบด้วย
   1.1 มีสาระสังเขปเป็นภาษาอังกฤษ
   1.2 บทความมีรายการอ้างอิง
   1.3 วารสารมีนโยบายที่ชัดเจน
   1.4 การประเมินบทความ มีหลายระดับ เช่น แบบเปิด แบบไม่รู้จักกันทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน
   1.5 ความหลากหลายของกองบรรณาธิการ
   1.6 ความหลากหลายของผู้เขียนบทความ
2. การนำเสนอเนื้อหา (Presentation of Content) ประกอบด้วย
   2.1 ความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายวารสาร
   2.2 ความชัดเจนถูกต้องของสาระสังเขป
   2.3 ความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ของวารสาร
   2.4 การนำเสนอที่ง่ายต่อการอ่านบทความ
3. การอ้างถึง (Citedness) ประกอบด้วย
   3.1 จำนวนการอ้างถึงวารสาร
   3.2 จำนวนการอ้างถึงผลงานของบรรณาธิการ
4. การตรงต่อเวลา (Timeliness) ประกอบด้วย
   4.1 การออกตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้
5. การเข้าถึง (Accessibility) ประกอบด้วย
   5.1 มีเนื้อหาให้บริการในรูปออนไลน์
   5.2 มีเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษ
   5.3 คุณภาพของเว็บไซต์
ที่มา : Content Selection for SciVerse Scopus

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง :

ตอบ

Thai Journals Online (ThaiJO) เป็นระบบการจัดการ และตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) โดยใช้ platform ของระบบ Open Journal System (OJS) ที่พัฒนาโดย Public Knowledge Project (PKP) ซึ่งเป็นเครือข่ายนักวิจัยด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ นำโดย Simon Fraser University ร่วมกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในแคนาดาและอเมริกา PKP ก่อตั้งขึ้นเพื่อร่วมกันพัฒนาซอฟแวร์สำหรับการเผยแพร่งานวิชาการโดยมีนโยบายของการใช้งานโปรแกรมแบบเปิดเผยซอร์สโค๊ด เปิดให้ผู้สนใจสามารถดาวโหลดไปใช้และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แต่สงวนลิขสิทธิ์ซอฟแวร์อยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตแบบสาธารณะ หรือ (GNU General Public License, GNU GPL, GPL) ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซทั่วไป

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) จึงได้ร่วมกันนำโปรแกรม OJS มาติดตั้งและพัฒนาระบบเพื่อให้บริการกับวารสารวิชาการในประเทศไทย ซึ่งในปี พ.ศ. 2560 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้อัพเดทเป็น OJS version 3 และได้เรียกชื่อระบบใหม่ว่า Thai Journals Online 2 (ThaiJO2)”

รูปแบบของการใช้งาน ThaiJO เป็นระบบ web-based application ที่ผู้ใช้สามารถทำงานได้เพียงเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆลงในคอมพิวเตอร์ และการใช้งานใช้ผ่านโปรแกรม web browser ของผู้ใช้ เช่น Internet Explore Firefox หรือ Google Chrome เป็นหลัก

ตอบระบบ ThaiJO ดำเนินงานโดยศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) โดยวางเครื่อง Server ฐานข้อมูล ไว้ที่ INET Data Center อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ถ.รางน้ำ ที่มีความปลอดภัยสูง ทั้งระบบป้องกันเครือข่าย (Firewall), Hardware Software และ Policy Security ในด้านความปลอดภัยของศูนย์ข้อมูลไอทีที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างได้มาตรฐาน รวมถึงการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบนด์วิธความเร็วสูง พร้อมด้วยเครือข่ายเสถียรภาพสูงในรูปแบบ Full Redundancy รองรับทุกสถานการณ์จากเหตุภัยพิบัติที่ไม่คาดคิดมีความปลอดภัยของข้อมูล อีกทั้งยังมีเครื่อง Server สำรองข้อมูล (Backup) โดยวางไว้ที่ NECTEC ด้วย
ตอบ

ตามที่ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้อัพเดทเป็น OJS version 3 และได้เรียกชื่อระบบใหม่ว่า Thai Journals Online 2 (ThaiJO2)” ซึ่งได้เปิดอบรมให้กับบรรณาธิการวารสารและเจ้าหน้าที่ที่ต้องการใช้งานระบบ โดยมีค่าใช้จ่ายในการอบรม ตามรายละเอียดลิงก์ด้านล่างนี้

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง :

ตอบสำหรับวารสารที่ใช้งานระบบ ThaiJO จะมีค่าบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server), อุปกรณ์เครือข่ายข้อมูล (SAN Switch) และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage) ของระบบ ThaiJO2.0 วารสารละ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ยังไม่รวม VAT สำหรับ 2 ปี