Home » Activity » การประชุม เรื่อง“TCI-TSRI-Scopus Collaboration Project, ระยะ 3 (2023-2025) ครั้งที่ 2”

การประชุม เรื่อง“TCI-TSRI-Scopus Collaboration Project, ระยะ 3 (2023-2025) ครั้งที่ 2”

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย [Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre] ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้จัดการประชุมโครงการ “TCI-TSRI-Scopus Collaboration Project, ระยะ 3 (2023-2025) ครั้งที่ 2” ขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2566 เวลา 08.30-13.30 น. ณ โรงแรม Eastin Grand Hotel Sathorn Bangkok โดยมีบรรณาธิการวารสาร และคณะทำงานวารสาร ที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 90 คน จาก 45 วารสาร

ทั้งนี้ ศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ ได้นำเสนอข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับ ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นในโครงการ TCI-TSRI-Scopus Collaboration Project ระยะที่ 1 และ 2 ที่ผ่านมาซึ่งสามารถผลักดันวารสาร 40 รายการเข้าไปอยู่ในฐานข้อมูล Scopus ได้ ทำให้มีจำนวนบทความของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลา 2107-2022 รวมทั้งสามารถพัฒนาคุณภาพของวารสารดังกล่าวให้มี Journal Quartile ที่สูงขึ้นด้วย ดังนั้น ในโครงการฯ นี้ ศูนย์ TCI จะดำเนินการเช่นเดียวกันกับโครงการในระยะที่ 1-2 คือ พัฒนาคุณภาพวารสารไทย เพื่อการบรรจุในฐานข้อมูล Scopus ในปี 2023-2025 และยกระดับ Journal Quartile ของวารสารให้สูงยิ่งๆ ขึ้น ตั้งแต่ปี 2023-2026

Ms.Tracy Chen ตำแหน่ง Senior Product Manager, Content and Policy จาก Elsevier ได้นำเสนอรายละเอียดของฐานข้อมูล Scopus จำนวนเอกสารประเภทต่างๆ ที่ได้รับการบรรจุใน Scopus จำนวน CSAB ตลอดจนเกณฑ์ในการประเมินวารสารเข้า Scopus ซึ่งประกอบด้วย Journal Policy, Quality of Content, Journal Standing, Regularity และ Online Availability นอกจากนี้ วิทยากรยังได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการประเมินวารสารเข้า Scopus ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ก่อนที่วารสารจะได้รับการตอบรับจาก Scopus ดังนี้ 1) Self-Checking and title submission 2) Minimum criteria checking 3) Expert review and decision 4) Accepted journal data indexing

จากนั้น Prof. Julie Li ตำแหน่ง CSAB Chair – Business, Management & Accounting; Economics, Econometrics & Finance ซึ่งทำงานที่ City University of Hong Kong ได้นำเสนอ บทบาทของ CSAB ในการประเมินคุณภาพวารสารเข้าสู่ Scopus โดยเน้นย้ำว่ามีความเป็นอิสระจาก Scopus และประเด็นที่ CSAB จะพิจารณาตามเกณฑ์การประเมินวารสารเข้า Scopus รวมทั้งสิ่งที่ CSAB คาดหวังจะได้เห็นขณะทำการประเมินคุณภาพวารสารเพื่อการบรรจุใน Scopus โดยมีการยกตัวอย่างประเด็นต่างๆ ภายใต้เกณฑ์การประเมินวารสารทั้ง 5 เกณฑ์คือ Journal Policy, Quality of Content, Journal Standing, Regularity และ Online Availability

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุม ได้สอบถามคำถามและข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนและเกณฑ์การประเมินวารสารวิชาการเพื่อการบรรจุในฐานข้อมูล Scopus อย่างกว้างขวาง และวิทยากรทั้งสองท่านได้ตอบคำถามต่าง ๆ อย่างละเอียดและชัดเจน ทำให้บรรณาธิการวารเกิดความรู้และความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี

เอกสารประกอบการประชุม

ภาพกิจกรรม

  •  
  •  
  •  
  •  
  •